โดย The MOMENTUM, พาฝัน หน่อแก้ว
ไร้ความปรานี นี่คือความรู้สึกแรกหลังจากอ่านนวนิยายเรื่อง บีเลิฟด์ (Beloved) ของโทนี เมอร์ริสัน (Toni Morrison) นักเขียนรางวัลพูลิตเซอร์ ค.ศ. 1988 และเจ้าของรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม เธอเป็นนักเขียนแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกและคนเดียวที่ได้รางวัลในสาขานี้ นวนิยายเรื่องนี้ไร้ความปรานีในแง่ของเนื้อหาที่จู่โจมเราแบบไม่ทันตั้งตัว ต่อเนื่อง และเจ็บหนัก
ไร้ความปรานีในแง่ของคนอ่าน ที่เนื้อเรื่องต่างเรียงร้อยสลับสับเปลี่ยนไปมา ผ่านความทรงจำ ความนึกคิดของตัวละคร ที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าเมื่อใดที่เรื่องราวและความทรงจำที่ (อ)ยากจะลืมเหล่านี้จะถูกนึกถึง และถ่ายทอดให้ผู้อื่นร่วมจดจำและจดจาร
โดย Western Novels
Wuthering Heights เป็นวรรณกรรมที่ตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวจากปลายปากกาของเอมิลี่ บร็องเต้ เรื่องเดียวที่หมายความว่าเรื่องเดียวจริงๆ เนื่องจากเอมิลี่ป่วยเป็นวัณโรค แล้วก็เสียชีวิตไปก่อนที่จะได้ผลิตผลงานเล่มอื่นๆ ออกมา
Wuthering Heights คือชื่อของคฤหาสน์เก่าๆ ตั้งอยู่บนเนินเขา รอบล้อมด้วยทุ่งมัวร์และต้นสนเฟอสูงตระหง่านหนาทึบ setting ของเรื่องคือชนบทในแคว้นยอร์กเชอร์ทางตอนเหนือของอังกฤษ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหุบเขาบ้าง ชะง่อนผาบ้าง สลับกับเป็นทุ่งโล่งหรือลำธาร สภาพอากาศแถบนั้นตลอดทั้งปีค่อนข้างหนาวเย็นและเลวร้าย ส่วนใหญ่แล้วท้องฟ้ามักมีเมฆหมอกมืดครึ้ม ลมพัดแรง พายุฝนกระหน่ำ หิมะตกหนัก ไม่น่าแปลกใจที่คฤหาสน์แห่งนั้นได้รับการขนานนามว่า Wuthering ซึ่งหมายถึง strong wind นั่นเอง
โดย a day, วรรษชล ศิริจันทนันท์
เราคิดว่า เพราะความรักมิอาจเร่งร้อน เป็นเรื่องเล่าที่เฉลิมฉลองการมีชีวิต รวมถึงความสัมพันธ์และความรักในรูปแบบต่างๆ ที่เรารู้สึกควรค่าแก่การโอบรับไว้ แม้มันจะพูดถึงบทบาททางสังคมและหน้าที่ของผู้หญิงในสังคมตะวันตกอย่างไม่อ้อมค้อม แต่เราที่อยู่ในสังคมตะวันออกกลับรู้สึกเข้าถึงได้ไม่ยาก อาจเป็นเพราะจุดร่วมของแต่ละสังคมยังคงเป็นการที่ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องและมักถูกคาดหวังให้ต้องเป็นคนที่เลี้ยงดูลูกมากกว่าผู้ชาย แม้ว่าในปัจจุบันผู้หญิงจะทำงานได้และจำเป็นต้องทำงานไปด้วย
โดย ธีรดา มูลศิริ
สัญลักษณ์บางอย่างที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออยู่เรื่อยๆ ก็คือดอกลินเดนที่ผลิบาน ซึ่งในบทตามโดย อาจารย์พัชราภรณ์ หนังสือได้ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของคู่รัก เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และรุ่งเรือง
ส่วนนกแอ่นยูเรเชียที่บินอพยพไปมาอยู่ตลอดทั้งเรื่อง เราลองหาข้อมูลเพิ่มแล้วพบว่า เป็นนกที่มีความแข็งแกร่งมากๆ บางแหล่งข้อมูลบอกว่าบางตัวอยู่บนฟ้าเป็นเวลานานติดต่อกันได้ถึง 10 เดือน
เพราะฉะนั้นถึงความรักมันจะทุกข์ทน เจ็บปวด หรือกัดกินพวกเธอแค่ไหน แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากหญิงสาวทั้งห้าก็คือ จงรักและผลิบานดั่งดอกลินเดน จงโผบินและแข็งแกร่งดั่งนกแอ่นยูเรเชีย
โดย ตนุภัทร โลหะพงศธร
แม้ว่าผลงานเขียนเล่มสำคัญที่สร้างชื่อให้แอตวูดเป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งในแวดวงวรรณกรรม คือ นวนิยายดิสโทเปีย โดยมีแนวทางนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกอนาคต เป็นภาพสะท้อนสังคมสมมุติที่เลวร้ายเกินกว่าที่โลกแห่งความเป็นจริงจะยอมรับได้ เพราะต้องอยู่ภายใต้การครอบงำของระบอบการปกครองที่ไม่เป็นธรรม จำกัดสิทธิ ปิดกั้นเสรีภาพ และลดทอนความเป็นมนุษย์จนหมดสิ้น เพื่อบังคับให้ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างหวาดกลัวและสิ้นหวัง ซึ่งตัวเธอคิดว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องในอนาคตที่ไกลตัว และอาจไม่ใช่สิ่งสมมุติ หรือภาพจำลองเหนือจริง แต่คือความจริงแท้ที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน เธอจึงไม่ใช่ผู้คาดการณ์อย่างที่ถูกยกย่อง หากจะเรียกให้ถูกต้องมากกว่า เธอคือนักสังเกตการณ์ในคราบนักเขียน
โดย 101, Nara
The Blind Assassin เป็นนิยายที่ระบุหมวดหมู่แน่ชัดค่อนข้างยากอยู่สักหน่อย มันเป็นได้ทั้งนิยายประวัติศาสตร์, เรื่องลึกลับที่มีกลิ่นอายนิยายนักสืบอยู่จางๆ, นิยายวิทยาศาสตร์, นิยายสิบสตางค์ราคาถูกแบบที่เรียกกันว่า pulp fiction, นิยายรักต้องห้าม, นิยายชีวิตของผู้หญิงที่โดนกดขี่เอารัดเอาเปรียบ และอีกสารพัดสารพัน
ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องด้วย ‘วิธีการเล่าเรื่อง’ ซึ่งเป็นจุดเด่นอันดับต้นๆ ของงานเขียนชิ้นนี้
พูดโดยรวบรัด มันเป็นนิยายซ้อนนิยาย เป็นเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่าหลายลำดับชั้น และนำเสนอผ่านมุมมองการเล่าหลายๆ แบบ มีตั้งแต่การเล่าผ่านตัวละครบุคคลที่หนึ่ง ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง (ตรงส่วนนี้ยังมีการเล่าสลับไปมาระหว่างปัจจุบันกับอดีต), ข่าวและบทความจากหน้าหนังสือพิมพ์ และที่สำคัญคือ เนื้อความจากนิยายเรื่อง The Blind Assassin (ชื่อเดียวกับหนังสือเล่มนี้) ซึ่งเขียนโดยตัวละครสำคัญชื่อ ลอรา เชส (มิหนำซ้ำ ในนิยายเรื่องนี้ก็ยังมีลักษณะเป็นเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่าอีกต่างหาก)
โดย ThaiPBS Podcast
“โอลก้า” ผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่นักเขียนอย่าง แบร์นฮาร์ด ชลิงค์ สร้างตัวละครหญิงคนนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของยุคสมัย บริบทของสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทัศนคติของคนเยอรมันในช่วงเวลาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตของโอลก้า ทำให้นักอ่านได้โลดแล่นไปกับความรู้สึกและการผจญภัยของตัวละครที่ ผู้แปล-เจนจิรา เสรีโยธิน บอกว่า “โลกที่ไม่เข้าข้างเรา”
โดย The MOMENTUM, ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย
ห้องของโจวันนี (Giovanni’s Room) นวนิยายชิ้นเอกของ เจมส์ บอลด์วิน (James Baldwin) นักเขียนแอฟริกัน–อเมริกัน พาเราไปสำรวจการก้าวผ่านช่วงวัยของเด็กหนุ่มที่กำลังกลายเป็นชายหนุ่ม ความสับสน ความเปราะบาง การเติบโต และการแสวงหาอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ผู้เขียนใช้อัตลักษณ์ทางเพศที่เลื่อนไหลของเดวิด—ตัวเอก เป็นกรอบในการตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้คนและสังคม รวมไปถึงการปฏิเสธและยอมรับตัวตนของตัวเอง
โดย Readery Podcast from The Standard Podcast
มือสังหารบอด หรือ The Blind Assassin ของ มาร์กาเร็ต แอตวูด หนังสือรางวัล The Booker Prize ประจำปี ค.ศ. 2000 เรื่องราวมหากาพย์ชีวิตของพี่น้องสองสาว ไอริส กับ ลอรา ที่ความหนากว่า 800 หน้าของหนังสือเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน แนวเรื่องที่หลากหลายตั้งแต่สืบสวนสอบสวน ไซไฟ Pulp Fiction ทั้งหมดเกิดจากความเชี่ยวชาญและชั้นเชิงของนักเขียนระดับโลกที่ชวนเราไปถอดรหัส เอาเป็นว่าหากใครชอบซีรีส์เรื่อง Dark ชอบหนังเรื่อง Inception หรือ Cloud Atlas ไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้ด้วยประการทั้งปวง!
โดย 101, Nara
ครั้งแรกที่อ่านนิยายเรื่อง Beloved ของโทนี มอร์ริสันจบลง ผมรู้สึกติดลบ คิดว่ามันเป็นหนังสือที่คนแต่งดูจะตั้งอกตั้งใจ ‘เขียนให้อ่านยาก’ หนักมือไปหน่อย
ความไม่ชอบถัดมา (จริงๆ แล้วเป็นข้อดีที่ทำให้ผมรู้สึกแย่) งานเขียนชิ้นนี้สะท้อนเนื้อหาเรื่องราวอันโหดร้าย หม่นเศร้า เจ็บปวด ออกมาได้อย่างถึงแก่น อ่านจบแล้วก็เกิดอาการ ‘จิตตก’ คล้อยตามบรรดาตัวละครไปด้วย
พ้นจากความไม่สบอารมณ์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ติดค้างอยู่ในใจ ซึ่งผมอธิบายและตอบตัวเองไม่ได้แน่ชัดว่าคืออะไร เอาเป็นว่า มันรบกวนจิตใจมากๆ จนกระทั่งผมอดรนทนไม่ไหว ต้องหยิบนิยายเรื่องนี้มาอ่านซ้ำแก้สงสัยกันอีกครั้ง โดยทิ้งห่างจากครั้งแรกเพียงแค่ไม่กี่วัน
การอ่านครั้งที่สอง เหมือนดูหนังคนละม้วน ฟังเพลงคนละอัลบั้มเลยนะครับ ความรู้สึกข้ามฟากเปลี่ยนจากที่เคยอึดอัด หงุดหงิด รำคาญ มาเป็นความทึ่ง ตื่นตะลึง หลงใหล ประทับใจ
โดย pryfnobs
เมื่อเราเริ่มอ่าน เราค้นพบว่าเราชอบภาษาในเล่มมากกว่าที่คิด แม้ตอนแรกจะอ่าน ๆ หยุด ๆ เพราะยังไม่เข้าใจเส้นเรื่อง และยังไม่รู้ว่าเขาต้องการเล่าอะไรให้เราฟัง แต่เมื่ออ่านไปเรื่อย ๆ เราคิดว่าเราติดใจความเรียบง่ายในหนังสือเล่มนี้ เราไม่อาจบอกได้ว่ามันเป็นเรื่องราวที่สนุก เข้มข้น หรือตื่นเต้นจนวางไม่ลง แต่เราติดใจตัวละคร ติดใจบ้านเมือง ติดใจเรื่องราวของพวกเขา เหมือนเราอาศัยอยู่ในเมืองนั้น เฝ้าดูชีวิตพวกเขาดำเนินไปในทุก ๆ วัน (แถมพออ่านจบแล้วยังรู้สึกว่าอยากรู้ความเป็นไปในชีวิตพวกเขาต่ออีกต่างหาก)
โดย Diary Therapy
เมื่อพูดถึงเด็ก ๆ คนเป็นแม่ก็มักจะหานิทานมาเล่าให้ฟังก่อนนอน เนื้อหาของนิทานต่าง ๆ ที่เรามักนำมาเล่าก็คงไม่พ้นนิทานอีสป หรือหนังสือพวกเจ้าหญิงต่าง ๆ แห่งดิสนีย์ เด็ก ๆ อาจสนุกกับการได้ฟังนิทานเหล่านี้ก่อนนอนแต่เราเองก็คิดเหมือนกันค่ะว่า หากเราเองมีนิทานก่อนนอนเล่าให้ตัวเองฟังบ้างก็ดี เมื่อคิดแบบนี้เลยลองหาและเจอเล่มหนึ่งค่ะ เรื่อง “เจ้าชายผู้มีความสุข และเรื่องสั้นคัดสรรอื่น ๆ ” เขียนโดย “ออสการ์ไวด์”
โดย Takaing_Doa
ดวงตาสีฟ้าสุดฟ้าเป็นการเล่าเรื่องเชิงอุปมา ระหว่างคนอ่านกับเรื่องราวมีตัวผู้เล่าอีกคนหนึ่งที่เล่าเรื่องของตัวเองเป็นตัวละครตัวหนึ่ง และหากเคยอ่านหนังสือชื่อ “บ้านบนถนนมะม่วง” ดวงตาสีฟ้าสุดฟ้าคล้ายจะเป็นภาคต่อเป็นส่วนขยายเรื่องของคนชายขอบเรื่องของชนชั้นให้ลึกและกว้างขึ้น
เรื่องสะท้อนอัตลักษ์ภาพความงาม ที่เกิดคำถามว่าใครเป็นผู้กำหนด? ใครเป็นผู้บอกเราว่าแบบไหนคือความสวยงาม แต่ละชาติพันธุ์ล้วนมีอัตลักษ์แตกต่างนับไม่ถ้วน แต่ตามปกติของสังคมเมื่อชาติพันธุ์หนึ่งอยู่เหนือชาติพันธุ์อื่นจึงเป็นผู้กำหนดทุกอย่างเสมอมา
โดย 101, Nara
The Handmaid’s Tale คือ การเล่าเรื่องทั้งหมดผ่านมุมมองของตัวเอกชื่อออฟเฟรด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนเล่าสลับไปมาตลอดเวลา ส่วนแรกเป็นชีวิตตอนกลางวันของตัวละคร แจกแจงให้เห็นถึงภารกิจต่างๆ ในแต่ละวัน ซึ่งต้องพบปะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน อีกส่วนหนึ่งคือ ชีวิตยามค่ำคืน หรือช่วงก่อนเข้านอน เมื่อออฟเฟรดอยู่ในห้องตามลำพัง และมีความเป็นส่วนตัวบ้างเล็กน้อย
โดย Takaing_Doa
บีเลิฟด์เป็นนวนิยายสัจนิยมใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบกระแสสำนึกตัดสลับไปมาอดีตปัจจุบันของตัวละครหลากหลาย ซึ่งแน่นอนว่าการเล่าเรื่องแบบนี้มักอ่านไม่ง่าย(อีกแล้ว) เหมือนเราถือตะกร้าใบหนึ่งย่างเท้าเข้าไปในป่าปริศนา มองหาจิ๊กซอร์แกะรอยความนึกคิดในบทสนทนา ค่อยๆ เก็บชิ้นส่วนมาต่อไม่เร่งร้อน แบบนั้นเราถึงจะได้ภาพที่ผู้เขียนต้องการสื่อจากความพร่าเลือนมองไม่ชัดไปสู่ความชัดเจนทีละนิด
โดย RAVI
ตั้งคำถามสำคัญถึงความหมายของความงามที่ไม่อาจสรุปความด้วยมุมมองเพียงด้านเดียว สะท้อนสภาวะการปฏิเสธอัตลักษณ์แห่งเผ่าพันธุ์ ความชิงชังตนเอง และการพยายามหลอมรวมเลือดเนื้อของตนให้เป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานอื่น
โทนี มอร์ริสัน (Toni Morrison) เขียนเรื่องดวงตาสีฟ้าสุดฟ้า (The Bluest Eye) โดยใช้ภาษาที่กระแทกกระทั้นได้อย่างแสบ ๆ คัน ๆ แต่ขณะเดียวกันก็จุกอกอย่างที่ไม่อาจจะร้องออกมา
โดย WAY OF BOOK, วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์
ฉากหนึ่งแสนงดงามในนวนิยายเรื่อง บอด คือฉากที่นางเอกผู้มีดวงตามองเห็น วิ่งฝ่าฝูงชนและความโกลาหล สองมือถือถุงพลาสติกสกปรกที่ยัดแน่นด้วยอาหารกระป๋อง อาภรณ์ท่อนบนถูกฉีกทึ้งจนเปลือยเห็นทรวงอก เธอเพิ่งวิ่งออกมาจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่พินาศหลังจากเมืองล่มสลาย รัฐก็ล่มสลาย ทุกคนตาบอดกันหมด ไม่มีน้ำสะอาด ไม่มีอาหาร ไม่มีระบบสาธารณูปโภค ไม่มีการเงินการธนาคาร ไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีระบบสาธารณสุขและการแพทย์ ไม่มีอะไรเลยแม้แต่ความหวัง
โดย Bookaholic Book Review
นี่คือสุดยอดวรรณกรรม Dystopia ร่วมสมัย นี่คือ The must ที่คอ dystopia ห้ามพลาด นี่คือหนังสือที่สาย Feminist ต้องจัด…
Margaret Atwood ช่างเขียนได้จับใจ และโจมตีไปที่ใจกลางจิตวิญญาณจริงๆ
รู้สึกซึมซาบไปกับอารมณ์ของตัวละคร และบรรยากาศ dystopia ในหนังสือ จนวางไม่ลง
โดย janieishappy
เริ่มอ่านไว้นานแล้ว ตั้งแต่ซื้อมาใหม่ๆ เลย แล้วหยุดทิ้งไว้ในช่วงที่เอสเธอร์กำลังดำดิ่งลงสู่ความ "บ้า" เรารู้สึกยิ่งอ่านแล้วมันยิ่งทำให้เราดิ่งตาม เราก็เลยหยุดไว้แค่นั้น เวลาผ่านมาหลายเดือนเราถึงหยิบมาอ่านใหม่ด้วเหตุผลที่ว่าเราเริ่มจะรู้สึกดีขึ้นแล้วกับอะไรหลายๆ อย่างในชีวิตเรา เรายอมรับอดีต เรายอมรับครอบครัว เรายอมรับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ แล้วเราก็พร้อมที่จะอยู่กับมันโดยให้มันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา
โดย PIMDEED PICK OUT, พิมพ์ดีดพิคเอาต์
ก่อนที่จะได้เห็นชุดดิออร์ครั้งแรกนั้น
นางแฮรีสก็มีเพียงดอกไม้เท่านั้นที่แกถือว่าเป็นสิ่งงดงามแท้จริงตลอดมา
หากคุณเคยปรารถนาอะไรลุ่มลึกเท่ากับนางแฮรีสใฝ่ฝันถึงชุดจากปารีส และปรารถนามาเป็นเวลานานอย่างนั้น ครั้นเมื่อความร่ำร้องที่ฝังรากลึกแบบผู้หญิงนี้กำลังจะได้ลิ้มรสความสมหวังอันหวานชื่น ทุกขณะจิตที่ผ่านไปจนถึงความสุขสมนั้น ก็ย่อมซาบซ่านวาบหวิว และประทับใจไม่ลืมเลือน
แต่ความฝันถึงชุดราตรีหรูหราราคาแพงระยับคล้ายจะเกินตัวแม่บ้านรับจ้างรายวัน วันละสามชิลลิ่งอย่างเธอ
โดย Aom Tungkananukulchai
อ่านจบไวกว่าที่คิดมากกกก แป๊บๆอ้าวครึ่งเล่มแล้ว อีกแป๊บนึงก็จบเล่มแล้ว
ชอบภาษามาก อาจเพราะว่าตัวนักเขียนเองก็เป็นกวีด้วย คำเปรียบเทียบ การเลือกใช้คำถึงทำได้ดีและออกมาสวยมาก ตอนแรกเรื่องจะดำเนินไปแบบปกติ มีบรรยายยาวๆ แต่หลังๆเรื่องจะ ... เหมือน choppy อ่ะ ตัดสลับไปมา สั้นๆ บางเรื่องก็ผุดขึ้นมาแบบ out of nowhere ซึ่งเราชอบมาก เพราะมันเหมือนพ้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวละครดี
โดย The MOMENTUM, ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย
ความสง่างามของนวนิยายเรื่องนี้จึงอยู่ตรงที่การไม่ดึงเอาศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (ไม่ว่าจะเพื่อใช้มันโบยตีตัวละคร หรือให้ตัวละครวิพากษ์มันกลับ) ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาไม่แคร์ศีลธรรม แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่ได้คิดว่ากำลังทำผิดศีลธรรม หรือในความหมายที่สุดขั้วกว่านั้น ศีลธรรมอาจไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าพายุหิมะ ความยากจน จานที่ทำแตก ฯลฯ ที่มีอิทธิพลต่อตัวละครมากกว่าเสียอีก
เราจะเห็นว่าสิ่งที่บีบคั้นให้ตัวละครจนมุมล้วนแล้วแต่เป็น ‘สถานการณ์เฉพาะหน้า’ ทั้งสิ้น
โดย The MOMENTUM, ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย
ดวงตาสีฟ้าสุดฟ้า (The Bluest Eye) คือหนังสือเล่มแรกของโทนี มอร์ริสัน (Toni Morrison) นักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ. 1993 นักเขียนหญิงผิวดำผู้เป็นหัวหอกสำคัญอีกคนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อคนผิวดำและคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา
เธอเขียนนวนิยายเรื่องนี้เพื่อทวงคืนพื้นที่ทางสุนทรียศาสตร์และอำนาจในการนิยาม ‘ความงาม’ ซึ่งถูกยึดครองโดยคนผิวขาวมาช้านาน พร้อมทั้งวิพากษ์ว่าการเหยียดสีผิวกลายเป็นอำนาจครอบงำที่คอยบ่มเพาะความรู้สึกชิงชังตนเองให้แก่คนผิวดำและคนผิวสีได้อย่างไร
โดย วิภว์ บูรพาเดชะ
เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง กลายเป็นว่า 'ซิงเกอร์' หนึ่งในชายใบ้ในบทแรก กลับกลายมาเป็นศูนย์กลางของเรื่องเล่าทั้งเรื่อง เพราะตัวละครทุกตัวพบว่าชายใบ้คนนี้พร้อมจะ 'รับฟัง' ปัญหาของตัวเองด้วยความเข้าอกเข้าใจ (หรือเข้าใจไปว่าเข้าใจ) กระทั่งมีบางครั้งที่เด็กสาว หมอผิวสี หนุ่มใหญ่เจ้าของร้านอาหาร หรือไอ้หนุ่มหัวกบฏก็ล้วนแวะเวียนกันไป 'คุย' กับซิงเกอร์จนแทบจะผลัดกันไปในวันเดียวกันเลยทีเดียว
และเมื่อมาถึงจุดนี้ ความมหัศจรรย์ของมุมมองที่ข้ามไปมาก็ทำให้ หัวใจคือนักล่าผู้ว้าเหว่ เป็นวรรณกรรมที่เข้าถึงตัวละครแบบทะลุทะลวงไปถึงชีวิตและจิตใจ
โดย 101, Nara
สิ่งที่คาร์สัน แม็คคัลเลอร์สเก่งกาจยากจะหาใครมาเทียบได้ คือ การถ่ายทอดความเหงาสุดขีดจับขั้วหัวใจความเหงาและตัวละครคนเหงาในนิยายของเธอ ไม่ได้เปล่าเปลี่ยวว้าเหว่ เพราะอยู่ตามลำพังและโหยหาต้องการใครสักคน แต่เป็นความเหงาเพราะเชื่อมต่อไม่ติดกับโลกรอบๆ ตัว เหงาแบบสั่งสมทุกสิ่งทุกอย่างมาทั้งชีวิต เหงาแบบสิ้นไร้ทางออก
เหงาจนกระทั่งว่า ความรักแบบที่มีการตอบสนองทั้งสองฝ่าย กลายเป็นเรื่องไกลตัวเกินเอื้อม ยากจะทำความเข้าใจ สิ่งที่พวกเขาและเธอต้องการ จำกัดขอบเขตเพียงแค่การมีโอกาสได้เลือกเป็นผู้รักแต่เพียงฝ่ายเดียว ด้วยความยินดียิ่งกว่าการเป็นผู้ถูกรัก
โดย The MOMENTUM, ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย
นวนิยายเรื่องนี้บรรจุประเด็นทางปรัชญาเอาไว้ให้ขบคิดหลากหลายประเด็น อะไรคือความจริง เรารับรู้การดำรงอยู่ของโลกรอบตัวและสรรพสิ่งต่างๆ อย่างไร จนถึงเรื่องขีดจำกัดของการรับรู้ ความหมายของการดำรงอยู่และคุณค่าความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศชายและหญิง รวมไปถึงคำถามทางศีลธรรมที่ย้อนกลับมาตั้งคำถามถึงระบบคุณค่าที่แต่ละคนยึดถือ
โดย กองบรรณาธิการ Way of Book
ช่วงที่ผู้เขียนกำลังอ่าน กาบริแอลา กานพลู และอบเชย กระแสมุกตลกหลวงปู่เค็มในโลกโซเชียลเรียกร้องความสนใจ จึงทำให้แบ่งเวลาจากกาบริแอลาไปค้นหาฟุตเทจเก่าๆ ของตลกคาเฟ่มานั่งดู จนมาเจอเรื่องรักระหว่างชายอายุ 78 กับหญิงสาวอายุ 28
โดย The MOMENTUM, ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย
นวนิยายเรื่อง เริงโลกีย์ที่ปราก ของ ฟิลิป รอธ (Philip Roth) นักเขียนอเมริกันนามอุโฆษผู้ล่วงลับ พาเราย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1976 ยุคที่กรุงปรากแห่งประเทศเชโกสโลวาเกีย ตกอยู่ใต้การยึดครองของโซเวียต เผด็จการสังคมนิยมที่ควบคุมนครแห่งนี้ไว้อย่างเบ็ดเสร็จ
โดย Readery Podcast from The Standard Podcast
รู้จักวรรณกรรมแปลคลาสสิกและโมเดิร์นคลาสสิกระดับโลกว่าหนังสือทั้ง 2 กลุ่มนี้ต่างกันอย่างไร มีเล่มไหนที่น่าอ่าน และทำไมวรรณกรรมหลายเล่มจึงมีคุณค่าข้ามเวลามาจนถึงทุกวันนี้
โดยสองเล่มจากไลบรารี่ เฮ้าส์ที่ถูกพูดถึงคือ ออร์แลนโด: ชีวประวัติ (Orlando: A Biography) และสตรีในกระจก: ภาพสะท้อนห้วงคำนึง และเรื่องสั้นคัดสรรอื่นๆ (The Lady in the Looking-Glass: A Reflection and other selected stories)
โดย booooky70
ทุกคนสามารถมั่งคั่งและกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้ เป็นยุคที่ชาวอเมริกันเชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ ทว่าฟิตช์เจอรัลด์กลับตีแสกหน้าความฝันของอเมริกันชนด้วยแก็ตสบี้เสียอย่างนั้น ดังที่เราจะเห็นกันอยู่ว่าต่อให้แก็ตสบี้พยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่เพื่อที่ตนจะได้เคียงคู่กับเดย์ซีมากเท่าไหร่ สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับรากเหง้าของตัวเองอยู่ดี การมองข้ามเรื่องของชนชั้นวรรณะไม่มีอยู่จริง
โดย ฆฤณ ถนอมกิตติ
หนังสือเล่มนี้จำลองภาพให้เราเห็นโลกของคนที่เป็นไบโพลาร์ได้อย่างมีเสน่ห์และแจ่มชัด ซึ่งสุดท้ายแล้วตัวอักษรเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเข้าใจหรือสร้างความตระหนักอะไรได้บ้าง นั่นเป็นสิ่งที่ผู้อ่านแต่ละคนคงต้องตอบตัวเอง
โดย Detached Girl
สำหรับคำถามที่ว่าทำไมมิสฮอลลีถึงต้องเดินทางตลอดเวลา จริงๆ แล้วไม่ใช่เพราะเธอชอบการเดินทางหรอก แต่เป็นเพราะเธอได้ละทิ้งที่ที่เธอจากมาแล้ว ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องเดินทางหาจุดหมายของเธอไปเรื่อยๆ แม้ว่าจุดหมายนั้นจะเป็นสิ่งนามธรรมอย่างเช่นชีวิตที่สุขสบาย และเพราะมิสฮอลลีไม่มีบ้านให้กลับ เธอจึงใช้ร้านทิฟฟานีส์ที่เธอโปรดปรานเป็นที่ยึดเหนี่ยวถึงสาเหตุที่เธอจากมาและเป้าหมายที่เธอต้องการจะไปอยู่เสมอ
โดย ManyMilds
สิ่งที่เราชอบสำหรับเล่มนี้ เราเห็นโลกผ่านมุมมองของเอสเทอร์ได้อย่างชัดเจน ชัดมากและเข้าใจมาก เรียกว่าอินหนักก็ว่าได้ หากจะให้พูดตรงๆอาจจะเพราะเราก็คงติดอยู่ในกรงแก้วอยู่ไม่ต่างกัน ฉากเรื่องเล่าต้นมะเดื่อนั้นอธิบายความรู้สึกได้ตรงกับความรู้สึกเราเป๊ะ อ่านเสร็จแล้วช๊อคเลยค่ะ
โดย Filmsick
หาก Orlando ของแซลลี พอตเตอร์คือ Orlando ในมุมมองแบบเฟมินิสต์ (แม้เจ้าตัวจะไม่ชอบคำนี้มากนัก) ที่เปิดเผยความเป็นอื่นของผู้หญิง และการเปิดเผยความงดงามของการเป็นเกย์ Orlando ของ Ottinger ก็เป็นเสมือนมุมมองของเควียร์ที่แผ่ขยายออกไปมากกว่าเรื่องชายหญิง ไปสู่ชีวิตของคนชายขอบที่มีมุมมองต่อโลกแบบที่ ‘เบี่ยงเบน’ ไปจากบรรทัดฐานของรักต่างเพศ ตั้งแต่ระดับกายภาพ วิถีทางเพศ ไปจนถึงโลกทัศน์ และวัฒนธรรมที่ต่างออกไป การเป็น fetish เป็นคนพิการ เป็นคนแคระ เป็นคนบ้า เป็นตุ๊ด เป็นสิ่งที่ถูกเบียดขับออกไป
โดย Kalil Pitsuwan
ผ่านนวนิยายเรื่องนี้ Kafka ได้แสดงให้เห็นถึงสภาวะจำยอมและไร้ทางสู้อย่างที่สุด ที่มนุษย์คนหนึ่งสามารถจะประสบได้ โดยเฉพาะเมื่อมันเกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่ได้คุ้นเคยแต่อย่างใด เป็นคนนอกและพลเมืองชั้นสองโดยสมบูรณ์ พูดอีกอย่างได้ว่า Amerika คือนวนิยายที่ฉายให้เห็นความผิดปกติของโลกสมัยใหม่ ที่อำนาจรัฐไม่เพียงจะเข้ามาแทรกแซงชีวิตของปัจเจก ควบคุมและจัดระเบียบ จนความเป็นมนุษย์ได้ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นอะไรอื่นที่ยากเกินจะเข้าใจ
โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย
ORLANDO : A BIOGRAPHY นับเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของวรรณกรรมในศตวรรษที่ 20 ที่นำเสนอประเด็นอัตลักษณ์ทางเพศและความเท่าเทียมทางเพศผ่านงานเขียนแบบกระแสสำนึก ที่นอกจากจะถ่ายทอดความคิดของตัวละครได้อย่างละเอียดลออลึกซึ้งแล้ว ยังสุดโต่งด้วยการเปลี่ยนร่างกายตัวละครจากชายกลายเป็นหญิง แล้วค่อยๆ อธิบายการเปลี่ยนผ่านของลักษณะนิสัยและวิธีคิดของตัวละคร
โดย แมท ช่างสุพรรณ
ผมไม่รู้ว่าร็อทเขาเขียนเรื่องนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากไหน แต่ผมจะลองคิดถึงมันดู ก่อนอื่นผมต้องยอมรับก่อนเลยว่าผมอ่านหนังสือเล่มบางๆ นี้หลายรอบมาก มันเหมือนเล่มเกมความคิด แต่ละรอบก็ให้ความรู้สึกไม่เหมือนเดิมสักครั้ง เหมือนมันมีความท้าทายหลายอย่างให้ค้นหา แต่พอคิดว่าหาเจอแล้วก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าหาเจอนั้นใช่สิ่งที่ต้องการหาหรือไม่
โดย Tonkit
ความรู้สึกของการอ่าน “เรื่องเล่าของสาวรับใช้” นั้นจะค่อย ๆ เพิ่มจินตนาการให้เราไปเรื่อย ๆ เนื้อหาดำเนินไปอย่างไม่เร่งร้อน แต่จะค่อยเพิ่มความกดดันให้เราไปเรื่อย จนกระทั่งถึงช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นด้านมืดของสังคมที่หลายคนคิดว่าเป็นสังคมอุดมคติ แต่แท้จริงแล้ว เป็นได้แค่สังคมที่ซุกซ่อนเอาความเลวร้ายเอาไว้ใต้พรม และไม่สามารถหาทางออกได้
โดย Little_O
ความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจค่อยๆ กัดกินเราอย่างเงียบเชียบและเรียบเรื่อย กว่าจะรู้ตัวมันก็ปั่นประสาทและความมั่นคงทางอารมณ์ของเราไปพักใหญ่แล้ว ไม่ต่างจากที่เตแรสจะตระหนักแทบในนาทีสุดท้ายว่าชีวิตที่เธอเผชิญนั้นได้ทำลาย “ชีวิต” ที่เป็นของเธอเองไปมากแค่ไหน คนเขียนเก่งเหลือเกินที่ถ่ายทอดภาพของการกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเพศออกมาอย่างสมจริงในความรู้สึกเรามากที่สุด
โดย Little_O
ในเวลาที่อำนาจจะหวนกลับมาอยู่ในมือคุณ เป็นเวลาที่คุณจะได้ก้าวออกมาจากช่องว่างของเรื่องราว หากความกล้าและความหวังอาจไม่มีเครื่องหมายเท่ากับชัยชนะเสมอไปแต่เป็นที่มั่นสุดท้ายที่คุณจะสามารถออกมาทำอะไรบางอย่างได้ คุณจะกุมอำนาจในมือแล้วใช้มันเพื่ออะไร? เธอใช้มันเพื่อส่งต่อความหวังและเรื่องราวของอำนาจที่เราไม่ควรวางใจผ่านเรื่องเล่านี้
โดย ทีมงานนักเขียนเด็กดี (dek-d.com)
การอ่านหนังสือเรื่องนี้ ทำให้เราอดคิดถึงแนวคิดของมาร์กซ์ ไม่ได้ มาร์กซ์บอกว่า สังคมแบ่งเป็นสองชนชั้นเสมอ คือชนชั้นสูงกับชนชั้นล่าง และแน่นอนว่าชนชั้นล่างก็จะโดนกดขี่อยู่ร่ำไป จนกระทั่งทนไม่ไหว ก็จะลุกฮือขึ้นมาสักที มันทำให้เราสงสัยว่า... จะมีสักวันไหม ที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข โดยไม่ต้องมีใครเป็นผู้ปกครอง และไม่ต้องมีใครเป็นผู้ถูกปกครอง...?
โดย ณัฐกานต์ อมาตยกุล (The Momentum)
อย่าเพิ่งคิดว่านี่เป็นหนังรักที่จะจบตามสูตร เพราะไม่มีคนดีอยู่ในความรัก ความเจ็บปวดที่ใครคนหนึ่งเป็นสาเหตุ ไม่ได้หมายความว่าเธอหรือเขาคือตัวร้ายของความสัมพันธ์
ปัญหาของเรื่องนี้มีอยู่ว่า กาบริแอลาไม่เคยเป็นของใคร และไม่เข้าใจระบบคิดของการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของแห่งความปรารถนา ... แต่สิ่งหนึ่งที่เธอทำไม่ได้ และไม่อาจเข้าใจได้ คือการอยู่ในกรงขังของความสัมพันธ์
โดย จารุรัตน์ เทศลำใย
นวนิยายขนาดสั้นเรื่อง Breakfast at Tiffany’s หรือในชื่อไทยที่ว่า มื้อเช้าที่ทิฟฟานีส์ พร้อมหน้าปกสีฟ้าเทอร์ควอยซ์สดใสที่ชวนให้นึกถึงร้านเครื่องประดับซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรื่อง หากเปรียบกับเรือขนส่งทางไกล Breakfast at Tiffany’s ได้เดินทางเทียบท่าเรือประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย ด้วยฝีมือแปลจากนักเขียนผู้เปี่ยมไปด้วยฝีมือและประสบการณ์อย่าง โตมร ศุขปรีชา
โดย Froggie
สิ่งที่ทำให้เราอ่านได้จนจบ (ด้วยความเร็วสูง) คืออยากรู้ว่าโลกมันจะบัดซบได้ถึงขนาดไหน ผู้เขียนค่อยๆแพลมออกมา สับขาหลอก เล่าเรื่องตัดสลับโดยไม่บอกล่วงหน้า ก็พยายามแกะรอยตามไปเรื่อยๆ วิธีการเขียนแบบมุมมองบุคคลที่ 1 ก็ช่วยให้เราเข้าใจถึงสภาวะจิตใจของคนที่อยู่ในสถานการณ์กดดันบีบคั้นได้ดี ตรงนี้ผู้เขียนเก่งมาก
โดย pimnichakan (Book MThai)
ด้วยเนื้อที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ของ Jorge Amado Cultural House (ก่อตั้งในปี 1929) ที่ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางเมืองอิลเญวส์ เปิดให้ผู้มาเยี่ยมชมได้ดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์และตามรอยวรรณกรรมเรื่องดัง อย่าง GABRIELA, CRAVO E CANELA พร้อมสอดแทรกวัฒนธรรมโบราณ ทั้งวรรณคดีและศิลปวัฒนธรรม ผ่านมุมมองชีวิต ของ Jorge Amado นักเขียนระดับตำนาน ผู้รักษาประวัติศาสตร์เมืองนี้เอาไว้จวบจนปัจจุบัน
โดย Kalil Pitsuwan
ตัว Atwood เองเคยกล่าวไว้ว่า การที่เธอเลือกเขียนงานแนว Dystopia แต่เล่าผ่านน้ำเสียงและมุมมองของผู้หญิง ไม่ได้ส่งผลให้งานเขียนชิ้นนี้กลายเป็น Feminist Dystopia โดยทันที และในทางหนึ่งสิ่งที่ Atwood สนใจและพาเราสำรวจผ่านวรรณกรรมเล่มนี้ คือระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมในสังคมหนึ่ง ซึ่งกำหนดสถานะของผู้หญิงให้เหลือเพียงกระจิริดกระจ้อยร่อยเท่านั้น
โดย ทราย เจริญปุระ
การร่วมเพศ ไม่ใช่การร่วมรัก ไม่มีพื้นที่ให้อะไรลึกซึ้งละเอียดอ่อนเช่นนั้น ขอแค่ความลุ่มหลงมัวเมา กายเนื้อสัมผัสบดเบียดกันในบรรยากาศของดำฤษณา ลุ่นๆ ทื่อๆ ตรงไปตรงมา
แต่สิ่งที่ อนาอิส นิน เขียนออกมา นอกจากจะเป็นจินตนาการถึงสิ่งแวดล้อมอันเป็นกวี แดดอุ่นยามสาย รอยแยกชื้นแฉะในพื้นที่สงวนและหนั่นเนื้อของคู่สวาทแล้ว ตรงพื้นที่ซึ่งปราศจากฉากการร่วมรัก กลับสะท้อนถึงผู้หญิงได้หลากหลายแบบ
โดย LiliGerda
การอ่านหนังสือเล่มนี้จึงเหมือนเอาผ้ามาเช็ดกระจกหน้าต่างให้มองเห็นภาพภายในห้องนอนชัดเจนขึ้นเพราะหนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่ตีแผ่อารมณ์เบื้องลึกและสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ให้เราได้เรียนรู้อย่างแจ่มชัดว่าจริงๆแล้วเซ็กส์เป็นสิ่งธรรมดาสามัญ เป็นธรรมชาติ เป็นอิสระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว มันจะเปลี่ยนรูปร่างได้เสมอเหมือนกับน้ำ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ขึ้นอยู่กับมนุษย์หรือสัตว์หรืออะไรก็ตามที่ควบคุมและกำหนดทิศทางของเซ็กส์ให้เป็นไปตามที่ต้องการ อ่านจบทำให้เรานึกถึงประโยคหนึ่งที่เคยผ่านตามาหลายครั้งคือ 'sex is a part of nature'
โดย ปาริฉัตร แทนบุญ
สำหรับนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้ ขอให้คะแนนในระดับ 4 ดาว แม้ช่วงแรกๆ อ่านแล้วอาจจะรู้สึกหนืด เนิบเกินไปจนถึงขั้นน่าเบื่อ แต่พอได้ลองดำดิ่งลงไปสักพักก็เหมือนเพิ่งจุดเครื่องติด การปูเรื่องมาด้วยการกล่าวถึงมิสอมีเลีย หญิงสาวผู้มีปริศนาในชีวิตอันหม่นหมองมากมาย รวมไปถึงบรรยากาศแวดล้อมในเรื่องที่แผ่รังสีความโดดเดี่ยว เปลี่ยวเหงาออกมาแล้วกลับทำให้รู้สึกจมดิ่งลงไปเรื่อยๆ จนรู้ตัวอีกทีก็เปิดมาถึงหน้าสุดท้ายแล้ว
โดย เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา
"ฉันขอเป็นมะเร็งดีกว่ามีหัวใจที่ไม่ซื่อสัตย์"
ประโยคที่ชวนให้กระตุกใจคิดตามนี้หลุดออกมาจากปากของมิสฮอลิเดย์ โกไลต์ลี หญิงสาวแสนสวยผู้มีหัวใจรักความอิสระเสรีที่ไม่ยอมถูกร้อยรัดผูกมัดอยู่กับสิ่งใด แม้กระทั่งความรัก ซึ่งเธอก็ช่างมาได้จังหวะพอดีกับยุคที่เราต้องเลือกเป็นตัวเองแล้วมีคนไม่ชอบ หรือพอพยายามเป็นคนที่ใครๆ ชอบ ก็ดันรู้สึกว่าไม่เป็นตัวเอง
โดย SHN
ทุกวันนี้เราอยู่กับโลกที่เต็มไปด้วยคนที่อยากพูด แต่ไร้ซึ่งผู้ที่อยากฟัง แต่ถึงแม้จะมีคนฟังก็ฟังเพียงแค่ต้องการตัดสินใจว่าสิ่งที่ตนเองกำลังได้ยินอยู่นั้นมันถูก ผิด ดี เลว หรือสมควรไม่สมควรอย่างไร
มากกว่าจะฟังเสียง "หัวใจของกันและกัน"
มากกว่าจะรับรู้ว่าเขารู้สึกอะไร
มากกว่าจะอยากรู้ว่าเขาเศร้า เขาเสียใจ หรือเปลี่ยวเหงากับเรื่องราวเหล่านั้นแค่ไหน
โดย ณวรา หิรัญกาญจน์
ไม่ว่าจะเป็นความบังเอิญหรือตั้งใจ แต่รวมเรื่องสั้น 6 เรื่องของ ฟรานซ์ คาฟคาในเล่มนี้ช่างเรียงตัวกันเป็นไทม์ไลน์เหมาะเจาะจนกลายเป็นจิ๊กซอว์ต่อเติมภาพของนักเขียนหนุ่มผู้ดิ้นรนสร้างสรรค์งานอันเป็นเอกลักษณ์จนถึงขั้นมี adjective เฉพาะให้งานสไตล์คลุมเครือ มืดหม่น เน้นการตีแผ่ภาวะอารณ์ข้างในว่า ‘คาฟคาเอสก์’ (Kafkaesque)
โดย Nalanda
เช่นเดียวกับนิยายเรื่อง ปราสาท (Das Schloss, 1926) ตัวละครของคาฟคามักมีพื้นที่อันถูกร้อยรัดจำกัดอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง เรามักหาได้รู้รูปโฉมทางกายภาพตัวละครเท่าใดนัก แม้กระทั่งชีวประวัติพื้นหลังตัวละครก็แทบจะเลือนราง ทรงจำและความชอบ ปมทางจิต พื้นที่ของตัวละครในการแสดงเรื่องเหล่านี้ถูกจำกัดอย่างน่าอึดอัด ทว่ากลับทำให้ตัวละครมีความลึกพอๆ กับตัวละครในนิยายอันมีพื้นที่การแสดงสิ่งเหล่านี้ออกมาอย่างเต็มเปี่ยม
โดย The Paperless
ผู้อ่านชาวไทยอาจเคยได้ยินหรือเห็นงานแปลนวนิยายของนักเขียนระดับโลกดีกรีรางวัลโนเบลอย่าง “วิลเลียม โฟล์คเนอร์” มาบ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจและผู้อ่านบางท่านอาจยังไม่ทราบคือ นอกจากนวนิยาย ชั่วชีวิตของชายผู้นี้ยังมีเรื่องสั้นกว่า 120 เรื่อง และยังคงเป็นเรื่องสั้นต้นแบบในการศึกษาเรื่องสั้นอเมริกันจนถึงปัจจุบัน
โดย Anomia
มิค เด็กหญิงจนๆ จึงถึงกับยอมอดอาหารกลางวัน และใช้เงินค่าอาหารจ่ายให้เพื่อนนักเรียนอีกคนหนึ่ง เพื่อให้เขาสอนเปียโนและการอ่านโน้ตเพลงให้ เราจึงเห็นได้ชัดเจนว่าเสียงดนตรีสำหรับมิคเป็นสิ่งพิเศษมหัศจรรย์ ที่เธอสามารถสัมผัสได้ทันทีจากประสบการณ์การฟัง “ครั้งแรก” โดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน เป็นความงดงามพิเศษเฉพาะตัวที่มีอำนาจเหมือนมนตร์ขลังอันไม่อาจอธิบายได้ง่ายๆ
โดย งูน้อยบนชั้นหนังสือ
"ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ" น่าจะเป็นข้อความที่เหมาะสมกับหนังสือเล่มนี้ที่สุดแล้ว
ฮอลิเดย์ โกไลท์ลี่ย์ และเรื่องราวแห่งการเดินทางของเธอยังไม่จบลง ทุกอย่างวนเวียนรอบตัวเธอสะท้อนให้เราเห็นออกมาเป็น "มื้อเช้าที่ทิฟฟานีส์" เล่มนี้ แต่ตัวละครยังคง "อยู่ระหว่างการเดินทาง" ตลอดเวลา
โดย ทราย เจริญปุระ
ความรักเป็นประสบการณ์ร่วมระหว่างคนสองคน แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าเป็นประสบการณ์ร่วม มิได้หมายความว่าสองคนที่เกี่ยวข้องในความรักนั้นจะมีประสบการณ์เดียวกัน มีคนที่เป็นผู้รักและผู้ถูกรัก…บ่อยครั้งที่ผู้ถูกรักเป็นเพียงสิ่งกระตุ้นความรักทั้งมวลที่ถูกกักเก็บไว้ ซึ่งฝังตัวเงียบเชียบภายในผู้รักมาเนิ่นนาน และผู้รักทุกคนรู้เรื่องนี้ดี
โดย ภูพเยีย
ความเงียบปกคลุมมาเรียนนา เป็นความเงียบที่เงียบสงัดและว่างเปล่า ในมือของเธอมีนวนิยายรักเล่มหนึ่ง ผู้ประพันธ์บอกว่า ถ้อยคำนั้น เราต้องใช้สายตาเก็บเหมือนพวงองุ่นที่ห้อยอยู่ แล้วใช้ความคิดที่หมุนไปเหมือนการหมุนของหินโม่แป้งคั้นน้ำออกมาจนแผ่ซ่านไปในเส้นเลือด นี่ใช่ไหม การเก็บเกี่ยววรรณกรรมอันสูงส่ง
โดย candidebooks
คาร์สัน แม็คคัลเลอร์ส ใช้ชีวิตเช่นนั้นตามที่เธอกล่าว โดยการทิ้งงานเขียนชิ้นเยี่ยมมากมายไว้ให้เราได้อ่าน จนวันนี้ ในปีที่วันเกิดครบรอบ 100 ปีของเธอพ้นไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา งานของเธอก็ยังอยู่ในใจคนอ่านทุกคนเสมอ เธอไม่เคยถูกลืม
คาร์สัน แม็คคัลเลอร์ส เป็นเด็กสาวอารมณ์อ่อนไหว ขี้อาย เข้าสังคมไม่เก่ง และไม่ค่อยมีเพื่อน เธออาศัยโลกของเสียงดนตรีเป็นที่หลบลี้หนีจากความโดดเดี่ยว แต่ความฝันที่จะเป็นนักเปียโนมืออาชีพก็พังลงเพราะโรคไข้รูมาติกตอนอายุเพียงสิบห้าปี เธอจึงหันเหความฝันหนึ่งสู่อีกความฝันหนึ่ง นั่นคือการเป็นนักเขียน
โดย Readery
คาร์สัน แม็คคัลเลอร์ส เขียนเรื่องนี้ขึ้นในปี 1942 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามีของเธอ รีฟ แม็คคัลเลอร์ส ทิ้งเธอไปอยู่กับเดวิด ไดมอนด์ นักแต่งเพลง เธอจึงอุทิศเรื่องนี้ให้แก่เขา ผู้เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดคนหนึ่งของเธอ โดยแรงบันดาลใจต้นเรื่องมาจากการได้เห็นคนแคระคนหนึ่งในบาร์ย่านบรูกลินของนิวยอร์ก
เมื่อรู้ถึงภูมิหลังที่มาของนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่การเป็น “ผู้รักและผู้ถูกรัก” กลายเป็นประเด็นที่จะจับใจผู้อ่าน
โดย booooky70
ตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนขนนกที่ปลิดปลิวลอยตามลมไร้จุดหมาย เหมือนตัวมิสฮอลิเดย์อยากจะถามเรากลับว่า ‘คุณรู้อดีตของฉันแล้วยังไงต่อเหรอ? ฉันก็ไม่ได้จะปกปิดนี่นาและก็ไม่แคร์อยู่แล้วว่าคุณจะคิดยังไง’ บอกตามตรงว่านี่เป็นอะไรโดนใจเรามากๆ เธอยืนหยัดในความเป็นเธอและไม่ยอมให้ใครอื่นมามีอิทธิพลหรือขัดขวางการสยายกางปีกของเธอได้เลย
โดย โลกในมือนักอ่าน
ทั้งไอแซค ไดนีเสน และคาร์สัน แม็คคัลเลอร์ส ทั้งคู่มีกันและกันเป็นนักเขียนในดวงใจ
ไดนีเสน จัดให้ The Heart is a Lonely Hunter เป็นหนังสือเล่มโปรดของเธอ
แม็คคัลเลอร์ส มีธรรมเนียมว่า จะหยิบ Out of Africa ออกมาอ่านใหม่อีกครั้งทุกปี
โดย Oil Woramon
เนินนางวีนัสนี้ดีตรงที่ เป็นเรื่องสั้นที่ทุกเรื่องในเล่มมีจุดมุ่งหมายเดียวคือฉากอย่างว่า ดังนั้นไม่ต้องวางโครงเรื่องใส่ปมทางจิตใจมาให้รุงรังซับซ้อน ทุกตัวเงี่ยนเหมือนกันหมด และการที่เนื้อหามันแช่อยู่ตรงนั้นนานมากพอ ทำให้เราเห็นได้ว่ามันค่อยๆ ไต่ขึ้นไปสู่จุดสุดยอดอย่างไร นี่คือสิ่งที่การดูหนังให้ไม่ได้
โดย sunamanee
เรื่องราวของแม่บ้านรับจ้างชาวลอนดอน มิสซิสเอด้า แฮรีส ที่มีชีวิตที่แสนจะธรรมดา แต่เธอกลับมีความใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นเจ้าของชุดราตรีแสนวิจิตรมูลค่าหลายร้อยปอนด์ของสำนักตัดเย็บเสื้อผ้าชั้นสูง คริสเตียง ดิออร์ ซึ่งแม้แต่ผู้หญิงทั่วไปยังไม่อาจคิดฝันเช่นเดียวกับเธอ
โดย thisisnotmary maryist
"คนเราช่างดูแตกต่างได้เพียงไหนระหว่างยามใช้ชีวิตปกติกับตอนร่วมรัก”
เนินนางวีนัสเป็นนิยายอีโรติกเรื่องหนึ่งที่เราคิดว่าคนที่ชื่นชอบนิยายประเภทนี้ควรหามาอ่านและมีไว้ในครอบครอง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตเซ็กส์ของสามัญชน ศิลปิน โสเภณีชาวฝรั่งเศส ใช่... ชีวิตเซ็กส์ เพราะทั้งเรื่องผู้อ่านจะได้รับรู้เรื่องราว บริบท ความสัมพันธ์สวาทของตัวละคร ทุกท่วงท่า ทุกแรงปรารถนา ซึ่งทำให้เรารู้สึกหายใจไม่ทั่วท้อง
โดย ManualEyeko minimore
เมื่อสถานะของผู้ตายถูกสับเปลี่ยนขึ้นมามีบทบาทอย่างเต็มภูมิ การได้รับความสามารถพิเศษจากความตายในการเปลี่ยนจาก "การดำรงอยู่" ในหลักแหล่งพักพิงอาศัยอย่างที่มนุษย์จะอยู่ได้ กลายเป็น "การสิงสู่" อยู่ได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในสวน ในรูปภาพ หรือแม้แต่ในความทรงจำของตัวบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
โดย Readery
ในขณะที่คนทั่วไปคาดหวังความมั่นคงและการลงหลักปักฐานกับใครสักคนในชีวิต แต่มิสฮอลลี่ยังคงล่องลอยอยู่ระหว่างการเดินทาง อย่าเพิ่งตัดสินว่าเธอไม่รู้จักความรัก เพราะคุณค่าของความรักของแต่ละคนไม่เหมือนกัน